วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561


การปลูกยอ

ขั้นตอนวิธีเพาะลูกยอ วิธีเพาะลูกยอ หลายๆคน คงยังเพาะไม่งอก วันนี้ จันทร์เจ้าจะมาแนะนำวิธีการเพาะอย่างได้ผล
 ๑. นำลูกยอมาวางทิ้งไว้ ให้งอม มากๆๆ (เกือบเน่า)
 ๒. นำลูกยอที่เกือบเน่า มาบี้ๆๆในน้ำ และล้างเมล็ด ให้หมดเมือก
 ๓. ตาก หรือ ผึ่ง ให้แห้ง แล้วนำไปลงถุงเพาะ แล้วรอดูผลงานนะคะ รับรองว่า งอก เกือบร้อยเปอร์เซ็น สนุกกับการเพาะลูกยอครับ ยอบ้านเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดังนั้นอายุในการปลูกจนถึงให้ผลผลิตจึงสั้น อยู่ราวๆ 2-3 ปีก็ติดผล แล้ว วิธีที่เหมาะสมจึงเป็นการเพาะเมล็ดครับ เพื่อให้ได้ต้นที่แข็งแรง ครับ เมล็ดก็เพาะง่ายแสนง่าย เพียงเอาลูกสุกๆ มาล้างเอาแต่เมล็ด ตากแดดให้แห้ง จากนั้นก็เพาะในขุยมะพร้าว+ทราย 1/1 เมล็ดไม่ต้องฝังลึกครับ เพียง 0.3-0.5 มิลก็พอ ประมาณ 1 เดือนก็จะเริ่มงอกครับ




ลูกยอ....!! มีประโยชน์อย่างไร 

 ประโยชน์ทางยา ที่ใช้เป็นยา คือ ราก ใบ ผล ต้น ดอก และสรรพคุณในตำรายาไทย
 1. ราก สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้ท้องผูก
 2. ใบยอ รสขมเฝื่อน สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทา แก้โรคเกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ก แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง แก้กษัย ผสมยาอื่นแก้วัณโรค
 3. ผลดิบหรือแก่ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นเหียนอาเจียน ผสมยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง แก้ร้อนในอก
 4. ผลสุก ของยาบ้าน มีกลิ่นฉุน สรรพคุณผายลมในลำไส้ ต้น ใช้เป็นส่วนผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยารักษาวัณ
 5. โรค ดอก เป็นส่วนผสมของสมุนไพรตัวอื่นเป็นยารักษาวัณโรค


 ขนาดและวิธีใช้

 1. แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ใช้ผลดิบแก่ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างไฟให้เหลือง ต้มหรือชงดื่ม ใช้ครั้งละประมาณ 2 กำมือ (10-15 กรัม) เอาน้ำที่ได้จิบทีละน้อยและบ่อยๆ ครั้งจึงจะได้ผลดี
 2. แก้ปวดบวม อักเสบ โรคเกาต์ ใช้ใบสดย่างไฟ หรือปรุงยาประคบ
 3. แก้ปวดข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ใช้ใบคั้นเอาแต่น้ำ ทาที่ปวด
 4. ฆ่าเหา ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำ สระผม
 5. แก้เหงือกเปื่อย เป็นขุมบวม ใช้ผลดิบเผาเป็นถ่านผสมเกลือเล็กน้อย อม
 6. ขับโลหิตระดู ขับผายลม ขับเลือดลม ใช้ผลดิบต้มเอาน้ำดื่ม
7. แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้ผลดิบหั่นปิ้งไฟหรือตากแห้ง คั่วแล้วนำไปต้มเอาน้ำดื่ม



ประโยชน์ทางอาหาร คุณ ค่าทางโภชนาการ ใบยอ 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 73 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
น้ำ
77.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
10.5 กรัม
โปรตีน
5.0 กรัม
ไขมัน
2.2 กรัม
กาก
4 กรัม
แคลเซียม
469 มิลลิกรัม
เหล็ก
1.4 มิลลิกรัม
วิตามินเอ
43333 IU
วิตามินบีหนึ่ง
0.30 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง
0.14 มิลลิกรัม
ไนอาซีน
7.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี
3 มิลลิกรัม


 
 จากกระแส ความนิยมการบริโภคผลิตภัณฑ์ของลูกยอในบ้านเรามีมากเหลือเกิน เกิดอะไรขึ้นกับสมุนไพรลูกยอไทย จะเห็นว่าลูกยอที่มีในบ้านเราเป็นจีนัส สปีชี่เดียวของตาฮีติ ที่มีขายทั่วโลก คือถือเป็นพันธุ์เดียวกัน อาจแตกต่างกันบ้างเช่นทุเรียนหมอนทองกับทุเรียนก้านยาว ยังไม่มีข้อมูลรายงานว่าของใครจะดีกว่ากัน 
ลูกยอ มีประโยชน์ ทางด้านคุณค่าของอาหารที่มี วิตามินซี วิตามิน A และ ธาตุโปตัสเซียมสูง นอก จากนั้นจะมีลักษณะเหมือนพืชผักผลไม้จำนวนมากเพราะมีสาร แอนตี้ออกซิแดนท์หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งถือว่าช่วยชะลอการแก่ของเซลล์ และต้านมะเร็งได้ ซึ่งก็มีชัดเจนในห้องทดลองเท่านั้น 
งานวิจัยลูกยอมีไม่มากนัก ที่มีการวิจัยมากที่สุดเป็นที่คณะแพทย์ในเกาะตาฮีติ แต่การวิจัยเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ชาติอื่น เพราะถือว่าอาจมีอคติได้เพราะเป็นการสนับสนุนธุรกิจของประเทศตนเอง ซึ่งคาดว่าการแพทย์ชาติอื่นจะยอมรับต่อเมื่อมีการออกแบบที่ดี และได้รับการตีพิมพ์ทางวารสารการแพทย์ที่เชื่อถือได้ และมีคนทำการทดลองซ้ำและได้ผลตามที่ระบุจริง อย่าง ไรก็ตาม ถ้าไปค้นในเวบไซด์จะมีรายงานเป็นรายบุคคลว่าทานแล้วสามารถลดความดันโลหิตสูง ได้ เพิ่มพลังงาน สดชื่น ลดการอักเสบ ช่วยรักษาหวัด ระงับปวด รักษามะเร็ง โรคเอดส์ ลดไขมันในเลือด รายงานเหล่านี้เป็นรายบุคคลประปราย จากแพทย์บางท่านหรือนักโภชนาการ สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ เพราะยังไม่มีการวิจัยทดลองที่แน่นอนแต่อย่างใด แต่มีการลงเว็บไซต์เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เพราะเป็นเว็บไซต์ประกอบกับการขายผลิตภัณฑ์เป็นส่วนใหญ่ สำหรับรายงานที่ตีพิมพ์อย่างแท้จริง เมื่อค้นในห้องสมุดแพทย์ และจาก Medicine search มีเพียงประมาณ 20 รายงานทั่วโลก มีสามรายงานที่มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ ในลูกยอมีสาร Polysacchance (noni PPt) มีผลต่อเซลล์ของมะเร็ง Lewis lung carcinoma ได้จริง และยืดอายุของหนูที่เป็นมะเร็งนี้ได้จริง แต่ยังไม่พบรายงานการวิจัยในคน (Phyto ther Resp 1999) ซึ่งสรุปได้แต่เพียงว่าอาจมีผลป้องกันมะเร็งได้ จากการที่มีสารแอนตี้ออ๊กซิแดนท์ อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานในคนว่าผู้ที่ทานลูกยอ จะเป็นมะเร็งน้อยกว่าผู้ที่ไม่ทาน หรือรักษามะเร็งได้ ซึ่งต่างจากกระเทียมที่มีรายงานทางระบาดวิทยาว่าผู้ที่ทานกระเทียมจะเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้ใหญ่น้อยกว่าผู้ที่ไม่ทาน และสารสกัดกระเทียมยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิดกว่าน้ำลูกยอมีธาตุโปแตส เซียมสูงมากพอๆ กับน้ำส้ม และน้ำมะเขือเทศ และมีรายงานว่าผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังทานน้ำลูกยอแล้วมีโปรแตสเซียมสูง มากจนเป็นอันตราย จึงไม่ควรทานในโรคไต โดยสรุป ลูกยอ เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ มีวิตามินซี โปแตสเซียม วิตามินเอสูง มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยชะลอการแก่และต้านมะเร็ง โดยหลักการแล้วน่าจะป้องกันมะเร็งได้บ้าง ซึ่งก็เหมือนกับการทานผักผลไม้สดทั้งหลาย ตัวน้ำลูกยอมีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งชนิด Lewis lung carcinoma แต่มะเร็งชนิดนี้พบได้น้อยมาก การทานน้ำลูกยอไม่มีอันตรายเว้นผู้ป่วยโรคไต และเป็นไปได้ว่าลูกยอไทย อาจจะไม่ต่างหรืออาจจะดีกว่าหรือด้อยกว่าของต่างประเทศก็ได้ และเป็นพันธ์เดียวกัน ตนและคณะสมัยเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลวังน้ำเย็น ได้เคยวิจัยลูกยอแก่จัดๆ คั่วให้หอม นำมาชงน้ำชา พบว่าแก้คลื่นไส้อาเจียนได้ โดยเปรียบเทียบกับการชงน้ำชาธรรมดา ซึ่งเป็นการยืนยันผลการใช้ตามสรรพคุณโบราณไทย จึงอยากแนะนำประชาชนในการรับประทานลูกยอหรือน้ำลูกยอว่า การคั้นรับประทานสดๆ เองจะได้ผลดี หรือหากต้องซื้อหามาเพื่อรับประทานก็ควรพิจารณาดูตามความจำเป็น ไม่จำเป็นต้องบริโภคของต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงมากเหลือเกินขวดละหลายพันบาท เพราะลูกยอไทยก็มีสรรพคุณเช่นเดียวกันที่มา http://www.bansuanporpeang.com/node/15684

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เว็บบล็อกของเพื่อนๆ

กระเทียมน่ารู้
น้ำฝางเพื่อสุขภาพ
การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
ประโยชน์ของข้าวกล้อง
ประโยชน์ของ ข่า ข่า ข่า

คุณนี้มันเก่งจริงๆ ยอ

คุณประโยชน์ สรรพคุณของต้นยอ


คุณประโยชน์ สรรพคุณของต้นยอ


ยอ คือ พืชสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณทางยามากมาย ที่สามารถบรรเทาและรักษาอาการของโรคต่างๆได้ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับการรักษาโรคต่างๆ ยอนั้นส่วนประกอบต่างๆของลำต้นทั้งต้นมีสรรพคุณทางยาทุกส่วน อาทิ ลูกยอ ดอก ราก เป็นต้น? นอกจากมีสรรพคุณทางยาแล้ว ยอ ยังมีคุณค่าทางโภชนาการทางอาหาร ซึ่งได้มีผลวิจัยกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ ครั้งนี้จึงอยากนำข้อมูลทั้งหมด ของ ยอ พืชสมุนไพรไทย ที่มีประโยชน์นานับประการ มารวบรวมให้อ่านกันครับ
ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักกับต้นยอก่อนนะครับ ยอ จัดเป็นไม่พุ่มหรือไม้ขนาดเล็กในตระกูล Rubiaceae เป็นไม้พื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีผู้นำไปแพร่พันธุ์จนกระจายไปทั่วอินเดีย และตามหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิค และหมู่เกาะอินดัสตะวันตก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia ชื่อนี้เรียกกันทั่วไปในภาษาอังกฤษ คือ great morinda, Indian mulberry, beach mulberry, Tahitian noni หรือเรียกตามแหล่งที่ขึ้น หรือภาษา เช่น noni (จากฮาวาย) nono (ตาฮิติ) meng kudu (จากมาเลย์) nonu (ในภาษาของชาวทองก้า) และ ach (ในภาษาฮินดู)
ต้นยอขึ้นได้ทั้งในป่าทึบหรือตามชายฝั่งทะเลที่เป็น โขดเขาหรือพื้นทราย ต้นโตเต็มที่เมื่ออายุครบ 18 เดือน และให้ผลซึ่งมีน้ำหนักรวมกันระหว่าง 4-8 กิโลกรัมต่อเดือน ตลอดทั้งปี ยอเป็นพืชทนทานต่อดินเค็ม สภาวะแห้งแล้ง และดินทุติยภูมิ ยอจึงพบแพร่หลายทั่วไป ต้นยออาจสูงถึง 9 ?เมตร ใบและผลยอมีลักษณะเด่นที่เป็นแล้วบอกได้โดยง่ายว่าเป็นยอ



ใบยอมีขนาดใหญ่ รูปใบธรรมดาและเส้นใบลึก ใบมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ยอออกดอกและผลตลอดปี ดอกของมันเล็กๆ มีสีขาว ผลยอเป็นผลรวม กลิ่นฉุนเมื่อสุก บางครั้งจึงมีผู้เรียกชื่อผลยอในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึง ลูกเนยแข็งหรือลูกอ้วก (cheese fruit หรือ vomit fruit) ผลยอคล้ายรูปไข่ และเหมือนมีตารอบผล ความยาวของผลอยู่ระหว่าง 4-7 ?เซนติเมตร เมื่อผลยังอ่อนมีสีเขียว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไปจนเกือบขาวเมื่อสุก แม้ผลยอจะมีกลิ่นแรงและรสขม แต่ก็มีการบริโภคผลยอกันมาก ทั้งดิบ ๆ หรือปรุงแต่ง บางหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค กินผลยอเป็นอาหารหลัก ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และชาวพื้นเมืองออสเตรเลียกินผลยอดิบจิ้มเกลือ หรือปรุงกับผง... เมล็ดของยอคั่วรับประทานได้




สารที่พบในลูกยอ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

  1. ?สารโพรเซอร์โคมี (Proxeronine) เมื่อรวมตัวกับเอนไซม์โพรเซอร์โอ เนส จะได้เป็นสารเซอร์โอนีน ที่ลำไส้ใหญ่และเมื่อดูดซึมกลับสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย จะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุล แข็งแรง และมีภูมิต้านทานที่ดีอีกทั้งยังช่วยซ่อมแซมและ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ และกระตุ้นให้เซลล์ใหม่เติบโตและทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดีซึ่งสารสำคัญนี้มี คุณสมบัติในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและเนื้องอกได้
  2. สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)มีหลากหลายชนิดซึ่งมีผลเสริมฤทธิ์กันในการขจัดอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
    1. สารไบโอฟลาโวนอยด์ มีประโยชน์ในการบรรเทาปวด และต้านอักเสบ ทำให้หลอดเลือด มีความแข็งแกร่งขึ้น เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เสริมภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ช่วยให้ตับทำงาน มีประสิทธิภาพขึ้น ลดระดับโคเลสเตอรอล และบำรุงสายตา
    2. คาโรทีนอยด์ (Carotenoid) มีบทบาทสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ และพบว่าได้ประโยชน์ ใกล้เคียงกับสารไบโอฟลาโวนอยด์
    3. วิตามินซี เป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการต้านการติดเชื้อไวรัส ช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งเป็นโครงสร้างของผิวหนัง กระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีผลลดระดับฮิสตามีน ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้
    4. วิตามินอี มีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะอุดตันของหลอดเลือดและช่วยบรรเทาอาการปวด ชา ลดความอันเลือดสูง ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
    5. ซีสเตอีน (Cysteine) ซึ่งมีบทบาทในการขจัดอนุมูลอิสระ และยังมีผลในการขจัดสารพิษ จากแอลกอฮอล์ บุหรี่ และมลพิษในอากาศต่างๆ
    6. ซีลีเนียม (Selenium) มีความสำคัญในการป้องกันความเสื่อมที่พบในเบาหวาน และมีบทบาทสูง ในการเสริมภูมิต้านทานโรค
  3. สารสโคโปเลติน (Scopoletin) สาร ชนิดนี้จะมีคุณสมบัติช่วยให้เส้นเลือดขยายตัวจึงสามารถ ลดความดันโลหิตสูงกลับเป็นปกติได้และมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบประสาท อัตโนมัติรวมทั้งยังช่วยให้มี พลังงานและขจัดความรู้สึกอ่อนเพลียลง และยังช่วยต้านการอักเสบที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อช่วยให้อาการอักเสบ ดีขึ้น มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนมีฤทธิ์รักษาโรคภูมิแพ้ ยอยังช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์ในร่างกายให้เป็นปกติ และสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลที่เสื่อมแล้ว
  4. กรดอะมิโน เป็น สารสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างร่างกาย มนุษย์ เพราะโปรตีนมีหน้าที่ในการสร้างกล้ามเนื้อ ผิวหนัง เอ็น เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ต่อมไร้ท่อ เล็บ ผม และกระดูก นอกจากนี้ ยังมีส่วนในการสังเคราะห์ฮอร์โมน เอนไซม์ และยีนส์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของพันธุกรรม
  5. วิตามินและเกลือแร่ มีหลากหลาย ชนิด เช่น แมกนีเซียมมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของ เอนไซม์ และช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมและโพแทสเซียม และยังพบธาตุเหล็กซึ่งจะช่วยในการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่าง กาย
  6. สารอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ลูกยอยังประกอบด้วยสารสำคัญอีกกว่า 100 ชนิด เช่น แอนทราควิโนน (Antraquinone) ที่ช่วยควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบและฆ่าเชื้อโรคต่างๆ อีกทั้งยังมี การวิจัยพบว่า สามารถป้องกันโรคหัวใจและโรคบิดได้


น้ำลูกยอนั้นมี ธาตุโพแทสเซียมสูงมากประมาณ 56 meq/L เช่นเดียวกับน้ำมะเขือเทศ และน้ำส้ม ผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง จึงไม่ควรรับประทาน เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์เพราะจะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียน โลหิตในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้แท้งได้ และจากผลการทดสอบความเป็นพิษ ดังนั้นในการเลือกใช้สมุนไพรที่เหมาะสม และหากใช้ในรูปแบบของยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ควรพิจารณาถึงผู้ผลิตว่าจะมีมาตรฐานพอเพียงหรือไม่ และควรใช้ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมแก่ร่างกาย
โดยสรุปแล้ว ลูกยอ เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ มีวิตามินซี โปตัสเซียม วิตามิน เอ สูง มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยชะลอการแก่และต้านมะเร็ง โดยหลักการแล้วน่าจะป้องกันมะเร็งได้บ้าง เหมือนกับการทานผักผลไม้สดทั้งหลาย ตัวน้ำลูกยอมีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งชนิด Lewis lung carcinoma แต่มะเร็งชนิดนี้พบได้น้อยมาก การทานน้ำลูกยอไม่มีอันตรายเว้นผู้ป่วยโรคไต และเป็นไปได้ว่าลูกยอไทย อาจจะไม่ต่างหรืออาจะดีกว่าหรือด้อยกว่าของต่างประเทศก็ได้ แต่เป็นพันธ์เดียวกัน


สรรพคุณของลูกยอ

  1. ลูกยอเป็นแหล่งของแคลเซียมและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง
  2. ช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณ หนังศีรษะและผม
  4. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ (น้ําลูกยอ)
  5. สารสโคโปเลติน (Scopoletin) ในน้ำลูกยอมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่หดตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเป็นปกติ (ลูกยอ, น้ําลูกยอ)
  6. มีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (น้ำสกัดจากใบยอ)
  7. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (น้ำสกัดจากลำต้นยอ, น้ำสกัดจากใบยอ)
  8. ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยการทำเป็นเครื่องดื่ม ใช้คู่กับหัวหญ้าแห้วหมู อย่างแรกให้เลือกลูกยอห่าม นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ไม่บางหรือหนาจนเกินไป แล้วนำไปย่างไฟอ่อน ๆ (ปกติลูกยอจะมีกลิ่นเหม็น) โดยย่างให้เหลืองกรอบและย่างจนหมดกลิ่นเหม็นจริง ๆ จึงจะได้ตัวยาที่หอมน่ารับประทาน (การย่างจะนอกจากจะช่วยดับกลิ่นแล้วยังช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้กับตัวยาด้วย จึงช่วยซับกรดและลดกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ) สำหรับหญ้าแห้วหมูให้เอาส่วนหัวใต้ดินที่เราเรียกว่าหัวแห้วหมู นำไปคั่วให้เหลืองและมีกลิ่นหอม เมื่อเสร็จแล้วให้ตั้งไฟต้มน้ำจนเดือดแล้วเอาตัวยาทั้งสองชนิดลงไปต้มพร้อมกัน ใส่น้ำตาลกรวดพอหวาน ทิ้งไว้สักพักแล้วยกลงจากเตา ตัวยาที่ได้นี้จะมีกลิ่นหอม รอจนอุ่นแล้วนำมารับประทาน ส่วนที่เหลือให้กรองเอาแต่น้ำแช่ไว้ในตู้เย็นแล้วค่อยอุ่นรับประทาน ให้ดื่มติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้วสังเกตอาการ
  9. ช่วยแก้วัณโรค ด้วยการใช้ผลหรือใบทำเป็นยาพอก (ลูกยอ, ใบยอ)
  10. ลูกยอมีสารโปรซีโรนีน (Proxeronine) เมื่อรวมตัวกับเอนไซม์โปรซีโรเนส (Proxeronase) จะได้สารซีโรนีน (Xeronine) ที่ลำไส้ใหญ่ เมื่อดูดซึมกลับสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย จะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุลและแข็งแรง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี
  1. ใช้บำบัดและรักษาโรคมะเร็ง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  2. ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  3. ใช้รักษาโรคติดสุราหรือยาเสพติด (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  4. ใช้ลดอาการแพ้ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  5. ใช้รักษาโรคหอบหืด (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  6. ใช้รักษาโรคเบาหวาน (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  7. ใช้รักษาโรคเส้นเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  8. ใช้รักษาโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  9. ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารต่าง ๆ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  10. ใช้รักษาโรคเซลล์เจริญเติบโตนอกมดลูก (Endometriosis) (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  11. ใช้รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่ำ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  12. ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  13. ใช้รักษาโรคเส้นโลหิตตีบ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  14. ใช้รักษาโรคโปลิโอ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  15. ใช้รักษาไซนัส (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  16. ช่วยลดปริมาณสารพิษในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เซลล์ในร่างกายอ่อนเยาว์ลง
  17. ช่วยซ่อมแซมและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ
  18. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก
  19. ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ใหม่ในร่างกายเจริญเติบโตและทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ
  20. ช่วยแก้กระษัย (ใบยอ, รากยอ)
  21. ลูกยอมีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาทแบบอ่อน ๆ ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
  22. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ลูกยอสด)
  23. ช่วยให้เจริญอาหาร (ลูกยอ)
  24. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (น้ำสกัดจากใบยอ)
  25. ช่วยทำให้ระบบโลหิตหมุนเวียนดีขึ้น (ลูกยอสด)
  26. ช่วยบำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้มีสมาธิดีขึ้น
  27. มีฤทธิ์กล่อมประสาท มีส่วนช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
  28. ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้หัวสิว
  29. ใบยอมีวิตามินเอสูงจึงช่วยบำรุงและรักษาสายตา แก้อาการตาบอดตอนกลางคืนได้ (ใบยอ)
  30. ใช้รักษากุ้งยิง (ไอระเหยจากลูกยอ, ดอกยอ)
  31. ช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (ใบยอ)
  32. ช่วยแก้ไข้ (ลูกยอสุก)
  33. ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ (ใบสด)
  34. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ (ลูกยอสด)
  35. ช่วยแก้เหงือกเปื่อยเป็นขุยบวม (ลูกยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก)
  36. ใช้รักษาอาการเจ็บหรือแผลตกสะเก็ดรอบปาก หรือในปาก (ลูกยอดิบ)
  37. ช่วยรักษาอาการปากและเหงือกอักเสบ (ลูกยอสุก)
  38. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ลูกยอสุก)
  39. ลูกยอสุกมีสารแอสเพอรูโลไซด์ (Asperuloside) ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ลูกยอสุก)
  40. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ด้วยการใช้ลูกยอดิบนำไปเผาไฟให้สุกและแช่ในน้ำต้มสุก แล้วรินเอาแต่น้ำดื่มเพื่อบรรเทาอาการ หรือจะใช้ลูกยอสุกบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้อาการ (ลูกยอดิบ, สด)
  1. ช่วยแก้เสมหะ ด้วยการใช้ลูกยอดิบนำไปเผาไฟให้สุกและแช่ในน้ำต้มสุก แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม
  2. สารเซโรโทนิน (Serotonin) ในผลยอช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ลำไส้ดูดซึมได้ง่าย
  3. ช่วยขับลมในลำไส้ (ลูกยอสด, ลูกยอสุก)
  4. ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย (ลูกยอสด, ลูกยอสุก)
  5. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง (ลูกยอ)
  6. ช่วยระบายท้อง ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก (ทุกส่วน)
  7. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (น้ำสกัดจากใบยอ)
  8. ใบยอใช้ปรุงเป็นอาหารแก้อาการท้องร่วง (ใบยอ)
  9. ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (น้ำมันสกัดจากลูกยอ)
  10. ช่วยลดอาการท้องผูกได้
  11. สารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ในลูกยอช่วยกระตุ้นทำให้ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวเพิ่มขึ้น จึงช่วยขับของเสียออกจากร่างกายได้มากขึ้น
  12. ช่วยรักษาอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
  13. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  14. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (น้ำสกัดจากใบยอ)
  15. ใช้รักษาอาการอักเสบ ปวดบวม ปวดในข้อ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
  16. ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับตับ
  17. ช่วยรักษาโรคดีซ่าน (เปลือกต้น)
  18. แก้อาการไส้เลื่อน (น้ำสกัดจากใบยอ)
  19. ในลูกยอมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ช่วยขับพยาธิ (ลูกยอแก่)
  20. ช่วยขับประจำเดือน ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (ลูกยอสด)
  21. ชาวพื้นเมืองแถบโพลีนีเซีย (Polynesia) ใช้ผลอ่อน ใบ และราก เพื่อรักษาอาการผิดปกติของประจำเดือน
  22. น้ำคั้นจากรากยอใช้แก้แผลที่มีอาการอักเสบรุนแรง (รากยอ)
  23. ลูกยอสุกนำมาบดใช้ทาผิวเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  24. ใช้รักษาบาดแผลและอาการบวม (ลูกยอสุก)
  25. มีการนำไปทำเป็นน้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ ใช้ทาเพื่อลดอาการอักเสบ (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
  26. น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอช่วยป้องกันแมลง (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
  27. น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอใช้ทาช่วยลดการเกิดสิว (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
  28. ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกรักษาแผลถลอก (ลูกยอ, ใบยอ)
  29. ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้ตุ่ม ฝีฝักบัว
  30. ช่วยรักษาแผลพุพอง (ใบยอสด)
  31. ใบใช้ทำเป็นยาพอกใช้แก้พิษจากการถูกปลาหินต่อย
  32. ใบใช้ทำเป็นยาพอกใช้แก้กระดูกแตก กล้ามเนื้อแพลง (ใบยอ)
  33. ลูกยอบนใช้ทาแก้ส้นเท้าแตก
  34. ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้อาการเคล็ดขัดยอก หรือจะใช้ใบยอทำเป็นยาพอกก็ได้ (ลูกยอ, ใบยอ)
  35. น้ำคั้นจากใบยอใช้ทาแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า (ใบยอ)
  36. น้ำคั้นจากใบยอใช้ทาเมื่อมีอาการปวดเนื่องจากโรคเกาต์ (ใบยอ)
  37. ใบสดมีการนำมาใช้สระผมและกำจัดเหา หรือจะใช้น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอก็ได้ (ใบสด, น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)

ประโยชน์ของลูกยอ


  1. ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ
  2. ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ
  3. ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก (เวลากินห่อหมกควรกินใบยอด้วย เพราะมีวิตามินสูง)
  4. นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า รากนำมาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก
  5. ปัจจุบันมีการนำลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็น น้ําลูกยอ Noni หรือ น้ําลูกยาโนนิ
  6. รากยอมีการนำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุสีเหลือง
  7. ใบสดมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม
  8. ลูกยอสุกมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารหมู
  9. มีการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาสัตว์ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)


อ้างอิงจาก
  • yathai.blogspot.com/2010/09/blog-post_28.html
  • www.charpa.co.th/articles/noni.asp
  • www.samunpri.com

การปลูกยอ ขั้นตอนวิธีเพาะลูกยอ วิธีเพาะลูกยอ หลายๆคน คงยังเพาะไม่งอก วันนี้ จันทร์เจ้าจะมาแนะนำวิธีการเพาะอย่างได้ผล  ๑. นำลูกยอมาว...